วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

♪♫ เกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย ♪♫Chrome web store.

เกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย google+
       ที่มา Chrome web store.https://chrome.google.com/webstore/category/app/8-education
----------------------------------





พัฒนาทักษะทางด้านความแม่นยำ การคิดคำนวณ



-----------------------------------------------------------------------------------------------------------




------------------------------------------------------------------------------------------------------------


พัฒนาทักษะด้านความคิดสร้าสรรค์ จินตนาการ



------------------------------------------------------------------------------------------------------------


พัฒนาทักษะทางด้านการเรียนรู้วิทยาศาสตร์





-------------------------------------------------------------------------------------------------------------

พัฒนาทักษะทางด้าน ภาษาอังกฤษ














ขอบคุณข้อมูลจาก : Chrome web store.https://chrome.google.com/webstore/category/app/8-education



♪♫ การเรียนรู้และพัฒนาการเด็กปฐมวัย ♪♫


การเรียนรู้
          การเรียนรู้ คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นผลมาจากประสบการณ์และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นพฤติกรรมที่ถาวร
องค์ประกอบพื้นฐานของการเรียนรู้
 1.สมองและระบบประสาท   ระบบประสาทของคน ประกอบด้วยสมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่รับความรู้สึกต่างๆ ทำให้มนุษย์มีสติปัญญา ฉลาด มีความเข้าใจ สามารถวิเคราะห์เรียนรู้และควบคุมอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้ดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น ดังนั้น การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับความคิด ความทรงจำ และการรับรู้ต้องอาศัยการทำงานของสมองและระบบประสาทเป็นพื้นฐานสำคัญ
2.แรงขับ แรงขับเป็นภาวการณ์กระตุ้น หรือ เร้าให้ร่างกายแสดงพฤติกรรมต่างๆออกมา ในทางจิตวิทยาแบ่ง แรงขับออกเป็น 2 อย่างคือ  
     2.1 แรงขับพื้นฐาน  เป็นแรงขับที่เกิดขึ้นเนื่องจากความต้องการที่จำเป็นสำหรับการมีชีวิต เป็นความต้องการทางด้านร่างกาย เช่น ต้องการกิน นอน ดื่ม พักผ่อน เป็นต้น
     2.2 แรงขับที่เกิดจากการเรียนรู้ เป็นแรงขับที่เกิดขึ้นภายหลังต่อจากแรงขับพื้นฐาน เป็นแรงขับโดยเงื่อนไขและความต้องการทางสังคม เช่น ความรัก ความอบอุ่น ความรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย และเยรติยศทางสังคม เป็นต้น  
3. สิ่งเร้าและแรงจูงใจ เป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนรู้เพราะการเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าและแรงจูงใจ จึงทำให้เกิดการตอบสนองขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน
          สิ่งเร้า เป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ สิ่งเร้าเป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ดี
          แรงจูงใจ เป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่กระตุ้นให้บุคคลกระทำพฤติกรรมเพื่อการเรียนรู้ การเรียนรู้จะเกิดผลดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีแรงจูงใจที่จะเรียน  เราอาจแบ่งแรงจูงใจออกเป็น2 ประเภท คือ
1.              แรงจูงใจทางบวก เป็นการกระตุ้นเพื่อให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ โดยการให้กำลังใจ การชมเชย หรือการให้รางวัล เป็นต้น
2.              แรงจูงใจทางลบ เป็นการกระตุ้นเพื่อให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้โดยการบังคับ การวางกฏเกณฑ์หรือระเบียบ ถ้าไม่ปฏิบัติตามก็จะมีบทลงโทษ

4.การเสริมแรง เป็นการกระตุ้นให้บุคคลพัฒนาพฤติกรรมเพื่อการเรียนรู้ เพราะ เมื่อแสดงพฤติกรรมแล้วได้รับการเสริมแรงจึงอยากแสดงพฤติกรรมซ้ำอีก **การเสริมแรงมีทั้งการเสริมแรงทางบวกและการเสริมแรงทางลบ เช่นเดียวกับแรงจูงใจจะเห็นได้ว่า นอกจากการให้แรงจูงใจต่อผู้เรียนแล้ว การรู้จักเสริมแรงพฤติกรรมการตอบสนองซึ่งเป็นที่พึงปรารถนา(การเสริมแรงทางบวก) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญในกระบวนการเรียนรู้
ขั้นของพัฒนาการทุกด้านอย่างสมดุลและเต็มศักยภาพโดยกำหนดหลักการ ดังนี้
1.              ส่งเสริมกระบวนการการเรียนรู้ และพัฒนาการที่ครอบคลุมเด็กปฐมวัยทุกประเภท
2.              ยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลและวิถีชีวิตของเด็กตามบริบทของชุมชน สังคม และวัฒนธรรมไทย
3.              พัฒนาการเด็กโดยองค์รวมผ่านการเล่น และกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย
4.              จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพและมีความสุข
5.              ประสานความร่วมมือระหว่างครอบครัว ชุมชน และสถานศึกษาในการพัฒนาเด็ก
หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปีเป็นการจัดการศึกษาในลักษณะของการจัดการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาเด็กจะได้รับการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตสังคม และสติปัญญา ที่เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคลจึงกำหนดจุดหมาย ซึ่งถือเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์

พัฒนาการเด็กปฐมวัย
----ช่วงปีแรกของชีวิตวัยเด็กเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด เนื่องจากสมองของเด็กมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้เด็กสามารถรับรู้สิ่งรอบตัวผ่านการทำงานประสานกันของประสาทสัมผัส ปฏิกิริยาสะท้อนและการเคลื่อนไหวร่างกายการส่งเสริมพัฒนาการในช่วงวัยนี้จะมุ่งการตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็กอย่างเหมาะสม ดังนี้
1.              ด้านร่างกาย
-                    เจริญเติบโตตามวัย ตามเกณฑ์มาตรฐาน
-                    มีความสามารถในการใช้อวัยวะของร่างกายได้ประสานสัมพันธ์กัน
2.              ด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม
-                    มีความสุข ร่าเริงแจ่มใส อารมณ์มั่นคง
-                    สามารถปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม
3.              ด้านสติปัญญา
-                    มีความเข้าใจและสามารถใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมายได้เหมาะสมกับวัย
พ่อแม่หรือผุ้เลี้ยงดูต้องดูแลเด็ก้วยความรัก ความเข้าใจ ความเอาใจใส่ และส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กเป็นไปตามวัย และต้องเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนมีความสามารถไม่เหมือนกันคือ บางคนเร็ว บางคนช้า ถ้าเด็กมีพัมนาการช้า พ่อแม่ควรส่งเสริมโดยการดูแลเอาใจใส่ หาของเล่นที่เหมาะสมกับวัย มีเสียงและสีสันปลอดภัย เปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้และฝึกทำและให้กำลังใจโดยการชมเชยเพื่อกระตุ้นพัฒนาการของเด็ก
คุณลักษณะตามวัยของเด็กทารก ( แรกเกิด-1ปี)
1.              การเจริญเติบโต
1.1       น้ำหนักตัวเด็กปกติจะมีน้ำหนักตัวโดยประมาณ ดังนี้
แรกเกิดเฉลี่ยประมาณ 3 กิโลกรัม
อายุ 5-6 เดือน 6 กิโลกรัม ( 2 เท่าของน้ำหนักตัวแรกเกิด )
อายุ 12 เดือน 9 กิโลกรัม ( 3 เท่าของน้ำหนักตัวแรกเกิด )
1.2       ความยาวของร่างกาย วัดจากศีรษะถึงปลายเท้าในท่านอน
แรกเกิดโดยเฉลี่ย 50 เซนติเมตร
อายุ 5-6 เดือน 65 เซนติเมตร
อายุ 12 เดือน 75 เซนติเมตร
1.3       ความยาวของเส้นรอบศีรษะ แสดงการเติบโตของสมอง วัดบริเวณเหนือคิ้ว
แรกเกิดโดยเฉลี่ย 35 เซนติเมตร
อายุ 12 เดือน 75 เซนติเมตร
1.4       ฟันน้ำนม
ส่วนใหญ่ฟันหน้าจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุ 6-8 เดือน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนครบ 20 ซี่ เมื่ออายุประมาณ 6 เดือน
2.              พัฒนาการทางด้านร่างกาย
เด็กทารกในขวบปีแรกมีความเปลี่ยนแปลงด้านการทำหน้าที่ของส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีขึ้นตาลำดับ
อายุ 1 เดือน สบตาและจ้องหน้าพ่อแม่
อายุ 2 เดือน คุยอ้อแอ้ ยิ้ม ชันคอในท่าคว่ำ
อายุ 3 เดือน ชันคอได้ตรง คว้าของเล่น หัวเราะเสียงดัง ชูคอตั้งขึ้น
อายุ 4 เดือน พยายามคว้าของเล่น ยิ้มทักทาย แสดงอาการดีใจเมื่อเจอสิ่งที่ตัวเองพอใจ
อายุ 5 เดือน สามารถคืบ พลิกคว่ำ พลิกหงาย
อายุ 6 เดือน คว้าของมือเดียว หันหาเสียง เรียกชื่อ ส่งเสียงโต้ตอบ
อายุ 7 เดือน นั่งทรงตัวได้เอง เปลี่ยนสลับมือถือของได้
อายุ 8 เดือน มองตามของตก กลัวคนแปลกหน้า
อายุ 9 เดือน เล่นจ๊ะเอ๋ ตบมือ นั่งได้มั่นคง คลานได้ ใช้นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือหยิบของเล็กได้
อายุ 10 เดือน เหนี่ยวตัว เกาะยืน เกาะเดิน ส่งเสียงต่างๆ เช่น หม่ำ จ๊ะ จ๋า
อายุ 11 เดือน ตั้งไข่ พูดเป็นคำเลียนเสียพูด ทำท่าทางทำตามคำสั่งง่ายๆ ได้
3.              พัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม
          ในวัยเด็กขวบปีแรกจะเจริญเติบโตเร็วมากทั้งทางร่างกาย สมอง สายตา และระบบประสาท ร่างกายทุกส่วนได้รับการพัฒนาจากการได้รับสัมผัสโอบกอดจากพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดู จะเป็นการกระตุ้นพัฒนาการของเด็กให้เรียนรู้สิ่งต่างๆรอบตัวได้เป็นอย่างดี  เด็กทารกจะเริ่มมีการโต้ตอบทางสังคมกับผู้ใกล้ชิดเมื่ออายุประมาณ 3 เดือนขึ้นไป เราจะสังเกตเห็นพัฒนาการด้านสังคมของเด็กว่ามีการเปลี่ยนแปลงตามอายุ ดังนี้
อายุ 3 เดือน รู้จักมองตามพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู รู้จักยิ้มเมื่อมีคนเข้ามาหา ร้องไห้เมื่อหิวหรือเจ็บป่วย
อายุ 6 เดือน สามารถแยกความแตกต่างของใบหน้าคนได้ เริ่มกลัวคนแปลกหน้า
อายุ 9 เดือน สามารถโต้ตอบเสียงเรียกได้ เล่นกับผู้อื่นได้ เช่น เล่นจ๊ะเอ๋ เข้าใจเสียงห้ามของผู้ใหญ่
อายุ 12 เดือน เริ่มจับใบหน้า หู ปาก ของผู้ที่เข้ามาอุ้ม เริ่มทำตามคำสั่งของผู้ใหญ่ได้ เริ่มพุดเป็นคำ
---เด็กอายุ 1-3 ปี
   เด็กปฐมวัยอายุ 1-3 ปี เป็นวัยที่เด็กเริ่มช่วยเหลือตัวเองได้ในบางเรื่อง การเปลี่ยนแปลงความสามารถของเด็กจากสิ่งที่ทำไม่ได้มาเป็นสิ่งที่ทำได้ เด็กจะอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกต รื้อค้น ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูต้องเอาใจใส่ดูแลและตอบสนองความต้องการของเด็กอย่างครบถ้วน จะทำให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนที่มีค่า ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ในช่วงอายุต่อไปของชีวิต
1.              พัฒนาการทางการเคลื่อนไหวร่างกาย แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่หนึ่ง คือการเคลื่อนไหวร่างกายและการทรงตัว ส่วนที่สอง คือการเคลื่อนไหวที่ละเอียด ได้แก่ การใช้กล้ามเนื้อที่เล็กๆ คือการใช้มือ นิ้วมือ และประสารทสัมผัสระหว่างตาและมือ
2.              พัฒนาการทางสติปัญญา  หมายถึง ความสามารถในการเรียนรู้คิดเป็น ทำเป็น แก้ไขปัญหาได้ หรือที่เรียกว่าเด็กเฉลียวฉลาด มีสติปัญญาดี ซึ่งมักจะแสดงออกด้วยการกระทำ การเล่น การพูด
3.              พัฒนาการทางอารมณ์และจิตใจ หมายถึงการมีความรู้สึกในรูปแบบต่างๆ และแสดงออกซึ่งความรู้สึกเหล่านั้นได้อย่างถูกกาลเทศะ มีจิตใจที่หนักแน่น แจ่มใส ร่าเริง มีความสุข เวลามีความตึงเครียส กลัว โกรธ หรือมีปัญหาก็สามารถเผชิญได้ และฝึกใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาเหล่านั้น หาทางออกแทนการเอะอะโวยวาย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้
4.              พัฒนาการทางด้านสังคม  หมายถึง  การมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีความผูกพันกับพ่อ แม่ มีความสนใจคนที่อยู่รอบข้าง สามารถสื่อความหมายได้ ร่วมมือกับผู้อื่นได้ ทำให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและเป็นประโยชน์ นอกจากนั้นพัฒนาการทางด้านสังคม ยัง หมายถึง การมีความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองสำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี เราหมายถึง ทักษะในการช่วยเหลือตัวเองในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การกิน การนอน การหัดควบคุมการขับถ่าย ตลอดจนการทำความสะอาดและการแต่งกาย
ธรรมชาติของเด็กอายุ 1-3 ปี : ร่างกายจะเจริญเติบโตเร็วมาก มีความสามารถในการเคลื่อนไหวแขน ขน การเดินและการวิ่งได้ การมองเห็นดีขึ้น แต่ยังช่วยเหลือป้องกันตัวเองไม่ได้ สนใจสิ่งใหม่ๆรอบตัว ช่างสำรวจและรื้อค้น มีความต้องการของตัวเองมากแต่ยังสื่อภาษาได้จำกัด จึงแสดงอารมณ์ด้วยการร้องไห้และปฏิเสธต่อต้านมากกว่า
อายุ 1 ปี 6 เดือน เป็นวัยที่กลัวการอยู่คนเดียว กลัวคนแปลกหน้า และกลัวความมืด พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูไม่ควรขู่ หรือลงโทษให้เด็กอยู่คนเดียว
อายุ 1 ปี 6 เดือน ถึง 2 ปี เป็นวัยชอบสำรวจ ชอบเลียนแบบ พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กต้องสอนให้เด็กพึ่งตนเอง ให้กำลังใจ ชมเชย
อายุ 2-3 ปี เป็นวัยที่ชอบปฏิเสธ และต่อต้านเมื่อถูกบังคับ ช่วยเหลือตัวเองได้หลายอย่าง ช่างชัก ช่างถาม ช่างจำ ชอบเล่นกับเพื่อน มักจะแย่งของและทะเลาะกับพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูจึงควรสอนให้เด็กรู้จักการให้และการรับ ให้โอกาสเด็กได้เล่นกับเด็กคนอื่นๆ แต่ต้องคอยดูแลอยู่ด้วย
---เด็กอายุ 3-5 ปี
          พัฒนาการของเด็กวัย 3-5 ปี มีความสำคัญแก่ชีวิต เพราะเป็นการวางรากฐานให้แก่เด็ก เพื่อให้เด็กเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ วัยนี้เป็นวัยที่มีพัฒนาการทุกด้านเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะด้านสองซึ่งเจริญประมาณ 80% ของชีวิต ดังนั้น พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูจึงต้องเข้าใจพัฒนาการของเด็กและสามารถจัดการเลี้ยงดูเด็กให้เหมาะสม เด็กจึงสามารถพัฒนาการความสามารถของตนได้อย่างเต็มที่
การเจริญเติบโตและพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กอายุ 3-5 ปี
          พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กวัยนี้เป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเรื่องความสูงและน้ำหนัก การเพิ่มของน้ำหนักเกิดจากการเจริญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้อ ในตอนต้นของวัยนี้ สัดส่วนของร่างกายเปลี่ยนแปลงใกล้เคียงกับผู้ใหญ่มากขึ้น กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวดีขึ้น เด็กชอบวิ่ง กระโดด ไม่หยุดนิ่ง ชอบเล่น กระโดด 2 เท้า คล้องขึ้น การหยิบจับและการช่วยเหลือตัวเอง สามารถควบคุมและบังคับการทรงตัวได้ดี ทำให้เด็กวัยนี้พร้อมที่จะทำกิจกรรมเกี่ยวกับการออกกำลัง การเล่นกลางแจ้ง การใช้มือก็มีความละเอียดขึ้น เด็กสามารถแต่งตัวเองได้ และสามารถช่วยทำงานเล็กๆน้อยๆ ได้ หวีผม แปรงฟันได้เอง และสามารถช่วยทำงานเล็กๆน้อยๆได้
          พัฒนาการด้านจิตใจและอารมณ์ของเด็กอายุ 3-5 ปี เริ่มมีพัฒนาการทางอารมณ์มากขึ้น ในขณะที่พัฒนาการทางร่างกายมีการเจริญเติบโตมากขึ้น จึงทำให้เด็กสามารถแสดงความต้องการของตนได้มากขึ้น เด็กจึงมักแสดงอารมณ์ไม่พอใจเมื่อถูกห้ามหรือแสดงความโกรธบุคคลรอบข้างอารมณ์รุนแรงจะเกิดขึ้นเพียงชั่วครู่แล้วหายไป เพราะเด็กมีช่วงความสนใจสั่น  อารมณ์ของเด็กวัยนี้จะเปลี่ยนแปลงง่ายมากและแสดงอารมณ์อย่างเต็มที่ ไม่ปิดกั้นมักแสดงออกทางพฤติกรรมที่แสดงออกมาจะลดลงตามวัย ขึ้นอยู่กับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก
          พัฒนาการด้านสังคมของเด็กอายุ 3-5 ปี เด็กอยู่ในวัยที่เริ่มออกนอกบ้าน เริ่มเรียนรู้ที่จะมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ทั้งนี้เพราะเมื่อเด็กอายุถึงวัยนี้หลายคนจะถูกนำไปฝากเลี้ยงไว้ตามศูนย์เด็กหรือโรงเรียนอนุบาล ทำให้ต้องพบกับบุคคลที่ไม่ใช่พ่อแม่หรือคนในครอบครัว เด็กต้องเรียนรู้ต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะการเล่นกับเพื่อนวัยเดียวกัน เด็กจะมีนิสัยการเล่นดังนี้
-                    เล่นคนเดียว โดยเล่นของเล่นโดยไม่สนใจเดกที่เล่นอยู่ใกล้เคียง
-                    เฝ้ามองดูการเล่นของเพื่อน อาจพูดคุย ถาม คำถาม แนะนำ แต่ไม่เล่นร่วมกับเพื่อน
-                    การเล่นแบบขนาน เด็กจะสนใจเล่นด้วยกัน ช่วยกันในการทำกิจกรรมต่างๆ
          


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


Pattiya   ---พาเพลิน

วันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2554

♪♫ อนุบาล ประทับใจ^^- ♪♫


       

  

กรวยดอกไม้สวยไหม?ค่ะ


หนูรักคุณครูค่ะ


คุณหมอ สุดสวย


ผมจะไปกินข้างแล้วนะครับ


ยิ้มสวย :)


เกมเรียงลำดับเหตุการณ์ค่ะ



                                       

ตั้งใจๆ^^-


ใกล้เสร็จแล้วกำลังตั้งใจเชียวนะ